top of page

เทคนิคการถ่ายภาพ

  • ฺBossini
  • Oct 27, 2015
  • 1 min read

พูดถึงเทคนิคการถ่ายภาพ กับคำถามว่าถ่ายรูปอย่างไรให้สวย ต้องซื้อกล้องดีๆ แพงๆ ถึงจะถ่ายภาพสวยหรือเปล่า หรือต้องเป็นกล้อง DSLR เท่านั้นจึงจะถ่ายภาพออกมาดูดี ทำอย่างไรจึงจะถ่ายภาพให้เหมือนกับที่ตาเห็น เพราะโดยส่วนมากแล้ว ผู้คนเลือกถ่ายภาพตอนที่ตนเองเห็นว่าสวย เช่นเห็นว่าดอกไม้สวย จึงหยิบกล้องขึ้นมาถ่าย ... แต่ปัญหาที่เกิดคือ ภาพที่ได้ไม่เหมือนอย่างที่ตาเห็น ก่อนที่จะตัดสินความดูดีในขั้นสุดท้ายว่าสายตาของแต่ละคน "ศิลป์"ไม่เท่ากัน

กล้อง dslr

ขั้นตอนการถ่ายภาพให้ได้อย่างใจ

พิจารณาสภาพแวดล้อมที่ต้องการถ่าย สภาพแสง น้อยหรือมาก หาจุดสนใจที่ต้องการถ่าย แสงสีขณะนั้น ง่ายหรือยาก ต้องตั้ง WB (สมดุลแสงขาว) หรือไม่ (อธิบายในบทถัดไป)

ตั้งค่ากล้อง ให้เหมาะกับสถานการณ์นั้นๆ เลือกโหมดถ่ายภาพเช่น P, A, S, M, Scene ควบคุมโฟกัส เช่น พื้นที่, เฉพาะจุด, โหมดโฟกัสมาโคร ควบคุมจุดวัดแสง (ในโหมด P, A, S, Scene) เช่น เฉลี่ยทั้งภาพ, เฉลี่ยหนักกลาง, เฉพาะจุด เลือก ISO ให้เหมาะกับสถานการณ์

ใส่ความคิดสร้างสรรค์ จัดองค์ประกอบภาพ คิดถึงผลสุดท้ายที่ต้องการ แล้วตั้งกล้องให้ตอบสนองความต้องการนั้น

ควบคุมกล้องในขั้นตอนสุดท้าย

หลายท่านอาจกังวลและฟังดูเหมือนยาก.. ใจเย็นๆ ค่อยๆ ทำความเข้าใจ เรียนรู้และฝึกฝนไปพร้อมๆ กัน ผมจะพยายามแนะนำอย่างเป็นขั้นตอนและง่ายที่สุด

มาเข้าเรื่องตามหัวข้อของเรากันดีกว่า "การเลือกใช้ให้เหมาะสม กับโหมดถ่ายภาพ P, A, S, M, Scene" ตอนนี้เป็นการแนะนำแบบข้ามขั้น ลัดขั้นตอนกันเล็กน้อย ผมจะแนะนำการเลือกใช้โหมดถ่ายภาพให้เหมาะกับสถานการณ์

หมดถ่ายภาพอัตโนมัติ แบ่งออกเป็น Auto, P, A (หรือ Av), S (หรือ Tv), Scene ซึ่งต่างเป็นโหมดถ่ายภาพที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้กล้อง โหมดถ่ายภาพอัตโนมัติ จะช่วยปรับตั้งค่าพารามิเตอร์เกี่ยวกับการถ่ายภาพต่างๆ ให้กับเรา ขึ้นกับสภาพแสงและสีในขณะนั้น ซึ่งพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพได้แก่

ISO หรือความไวแสง เช่น ISO100, ISO200, ISO400, ISO 1600 เป็นต้น ขออธิบายแบบภาษาชาวบ้านว่า ค่าความไวแสงยิ่งต่ำภาพยิ่งคมชัด มีน๊อยส์ (เม็ดเกร็น) เกิดขึ้นน้อย แต่จะทำให้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำลง ในทางกลับกัน ถ้า ISO สูงขึ้น ความเร็วชัตเตอร์ก็จะสูงขึ้น แต่ผลของภาพที่ได้ มีโอกาสเกิดน๊อยส์เยอะขึ้น โดยเฉพาะบริเวณเงา

รูรับแสง เป็นพารามิเตอร์ของเลนส์ เลนส์แต่ละกระบอกจะสามารถเปิดรูรับแสงกว้างที่สุด แคบที่สุดแตกต่างกัน ขึ้นกับสเปคของเลนส์นั้นๆ เช่น f2.8, f8 ตัวเลขรูรับแสงน้อย หมายความว่าเปิดหน้ากว้าง เช่น f2.8 จะกว้างกว่า f8 ช่วยให้รับแสงได้มาก มีผลทำให้ได้ภาพแบบชัดตื้น เหมาะสำหรับถ่ายภาพคนครึ่งตัวเพื่อละลายฉากหลัง (เทเลโฟโต้) ส่วน f8 หรือค่ารูรับแสงที่แคบ มีผลทำให้ได้ภาพชัดชึก เหมาะสำหรับถ่ายภาพที่ต้องการความคมชัดทั้งภาพ เช่นภาพวิวเป็นต้น

ความเร็วชัตเตอร์ เป็น ค่าที่สำคัญ และเป็นตัวเลขที่บอกเป็นนัยๆ ว่าภาพที่ได้น่าจะชัด หรือเบลอ เพราะยิ่งความเร็วชัตเตอร์สูง โอกาสที่ภาพจะคมชัดจะมีมากกว่าการถ่ายภาพที่ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ตัวเลขปลอดภัยของความเร็วชัตเตอร์สำหรับคนทั่วไปอยู่ที่ 1/30 วินาทีขึ้นไป ความหมายของความเร็วชัตเตอร์ หมายถึงการปิดรับแสงตกบนเซ็นเซอร์ ยิ่งปิดเร็ว โอกาสที่ภาพจะชัดยิ่งสูง เพราะปิดก่อนมือเราจะสั่น แต่ถ้าความเร็วชัตเตอร์น้อย เช่น 1/4 วินาที โอกาสที่ภาพเบลอจะสูงมาก (นอกจากมือนิ่งจริงๆ หรือมีขาตั้งกล้อง)

โหมดโฟกัส เป็นการตั้งโหมดโฟกัส กล้องดิจิตอลแทบทุกประเภท จะสามารถตั้งโหมดโฟกัสได้ เช่น โฟกัสแบบพื้นที่ 9 จุด, โฟกัสแบบเฉพาะจุด หรือมาโครโฟกัส (สำหรับกล้องคอมแพค) จะมีผลในการควบคุมจุดโฟกัส มีความสำคัญมากเช่นกัน

โหมดวัดแสง เป็นการตั้งโหมดวัดแสง ซึ่งจะมีผลต่อโหมดถ่ายภาพอัตโนมัติ Auto, P, A, S, Scene แต่ไม่มีผลกับโหมดแมนนวล M เนื่องจากโหมดวัดแสง เป็นตัวบอกกล้องของเราให้รู้ว่า จุดที่เราต้องการถ่ายภาพมีปริมาณแสงมาก หรือน้อย เพื่อให้กล้องตัดสินใจปรับค่าต่างๆ ให้เราอย่างพอดี (ตามปริมาณแสงที่วัดได้) โหมดวัดแสงส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น วัดแสงแบบเฉลี่ย (เป็นการวัดแสงเฉลี่ยทั้งเฟรม), วัดแสงแบบเฉลี่ยหนักกลาง (ลดระยะวัดแสงให้แคบลง อยู่บริเวณกลางเฟรม), วัดแสงแบบเฉพาะจุด (เป็นการวัดแสงที่จุดเล็กๆ บนเฟรม ใช้ในกรณีความต่างแสงในเฟรมค่อนข้างมาก ให้วัดที่จุดสนใจ เช่นสีผิว)

แฟลซป๊อปอัพ เป็นการปรับค่าให้เปิดหรือปิดแฟลซ ถ้าเป็นกล้องโปร จะมีให้เลือกใช้แฟลซภายนอกหรือภายใน

ชดเชยแสง หรือ Ev +/- ใช้ปรับชดเชยแสงให้กับโหมดถ่ายภาพอัตโนมัติ Auto, P, A, S, Scene ใช้ในกรณีที่วัดแสงแล้วกล้องปรับค่าให้เราไม่พอดี ภาพมืดไป (อันเดอร์) หรือสว่างไป (โอเวอร์) กรณีนี้เราใช้การปรับชดเชยแสง + หรือ - เข้าช่วย กล้องก็จะทำการปรับค่าพารามิเตอร์ใหม่ เพื่อให้ได้ภาพที่สว่างขึ้นหรือมืดลง

WB หรือสมดุลแสงขาว เป็นการปรับค่าอุณหภูมิสี ปกติจะเป็น Auto หมายถึงกล้องวัดปริมาณสีในเฟรมแล้วปรับค่าสมดุลแสงขาวเอง คำว่าสมดุลแสงขาวหมายถึงการปรับสีขาวให้เป็นสีขาว ในกรณีที่ถ่ายภาพในสภาพแสงที่มีการย้อมสี เช่น แสงจากหลอดสีส้ม เสื้อขาวหรือผนังสีขาวจะกลายเป็นสีส้ม เราอาจแก้ค่าสีโดยการปรับ WB ให้ถูกต้อง แต่ถ้าใช้โหมด Auto กล้องจะปรับค่าสมดุลแสงขาวให้เรา ซึ่งอาจตรงหรือไม่ตรงก็ได้

 
 
 

Comentarios


Follow Us
  • Twitter Basic Black
  • Facebook Basic Black
  • Google+ Basic Black
Recent Posts

© 2023 by Glorify. Proudly created with Wix.com

bottom of page